1.สภาพคล่องดี ขั้นตอนแรกที่เราควรคำนึงถึงคือการสร้างสภาพคล่องพื้นฐานให้กับตัวเราเอง เมื่อสภาพคล่องดีแล้วเปรียบเสมือนสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทาน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงได้แก่ เงินสำรองฉุกเฉิน เงินก้อนนี้ควรมี 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน 2.กำจัดหนี้เสีย เมื่อสภาพคล่องพื้นฐานของเราดีแล้ว ลำดับต่อมาคือต้องกำจัดหนี้เสียทิ้ง และเลิกนิสัยการก่อหนี้ที่ไม่มีประโยชน์ เช่น หนี้บัตรเครดิต เงินกู้ระยะสั้นที่กู้มาใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่มีประโยขน์ 2 อย่างนี้ต้องรีบวางแผนกำจัดให้สินซากโดยเร็วที่สุด เพราะภาระดอกเบี้ยนี้เป็นรูรั่วขนาดใหญ่ของแผนการเงิน 3.ปิดความเสี่ยง ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน ตลอดทุกช่วงเวลาของการวางแผนการเงินย่อมมีความไม่แน่นอนในชีวิตมากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ เสียชีวิต และปัญหาสุขภาพ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่คาดฝัน ดังนั้นเพื่อความมั่งคงของแผนการเงิน เราควรปิดความเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ด้วยการวางแผนประกันเพื่อความอุ่นใจของครอบครัวและแผนการเงิน 4.สร้างระบบอัตโนมัติ ความเฉี่อยที่เป็นอุปสรรค์ในการวางแผนการเงินจะถูกกำจัดไปด้วยการสร้างระบบการออมอัตโนมัติ การออมเป็นประจำทุกเดือน(DCA :dollar cost average) นอกจากจะเป็นการสร้างวินัยในการออมแล้วยังเป็นกลยุทย์การกระจายการลงทุนที่ชาญฉลาดอีกด้วย 5.สะสมเพื่อเป้าหมาย เมื่อมีระบบการออมอัตโนมัติแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการกำหนดเป้าหมายการออมว่า เราจะออมเพื่ออะไรและต้องออมต่อเดือนเท่าไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ แผนการเงินที่สำคัญของการสะสมคือวางแผนเพื่อเกษียณและวางแผนการศึกษาบุตร 6.ลงทุนเพื่ออิสรภาพ การลงทุนควรเป็นเป้าหมายสุดท้ายของแผนการเงิน หลังจากที่คุณวางรากฐานการเงินในทุกส่วนอย่างมั่นคงแล้ว เพื่อนำคุณสู่เป้าหมายสุดท้ายที่สูงสุดคืออิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง
ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงล้มเหลวทางการเงิน
เป็นคำถามแรกๆที่ผมต้องใช้เวลาครุ่นคิด เมื่อผมได้เข้ามาสู่อาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน…
องค์ประกอบความสำเร็จมี3ข้อด้วยกันคือ
1 ความสามารถในการหาเงิน
2 ความสามารถในการออม
3 ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือทางการเงิน
[…]