แรกเริ่มเรียนรู้ทำความรู้จักประกันชีวิต

แรกเริ่มเรียนรู้ทำความรู้จักประกันชีวิต หลายคนคงสงสัยว่าประกันชีวิตมีกี่แบบและแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักแบบประกันชีวิตหลักๆที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ ประกันชีวิตที่นิยมหลักๆมี 5 แบบด้วยกันคือ 1.ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา คือประกันชีวิตที่มีระยะเวลากำหนด เช่น 5 ปี หรือ10 ปี เป็นต้น 2.ประกันชีวิตตลอดชีพ คือประกันชีวิตที่มีระยะเวลาตลอดชีพ จะได้รับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิตเท่านั้น หรือเมื่อถึงอายุ 99 ปี 3.ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือประกันชีวิตที่มีเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนด 4.ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายเงินเป็นงวดๆให้กับผู้เอาประกันภัย เหมือนเงินบำนาญในยามที่เกษียณแล้ว 5.ประกันชีวิตควบการลงทุน (unit link) คือประกันชีวิตที่สามารถนำเงินผลตอบแทนไปลงทุนในกองทุนที่บริษัทคัดเลือกไว้ โดยผู้เอาประกันภัยรับความเสี่ยงในส่วนของผลตอบแทนเอง ซึ่งโดยปกติตามกฎหมายบริษัทประกันไม่สามารถนำเงินผลตอบแทนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้ เช่นหุ้นหรือกองทุนได้ ประกันควบการลงทุนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มีความรู้และเข้าใจเรื่องการลงทุน ประกันทุกแบบล้วนมีประโยชน์ตามหน้าที่และเงื่อนไขที่กำหนด แต่แบบไหนที่จะเหมาะกับคุณขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเพื่อใช้ในการปกป้องความเสี่ยงของชีวิตคุณ

วางแผนการเงินง่ายนิดเดียว เพียง นับหนึ่งถึงห้า…

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นคือการออม การออมเงินคือหัวใจแรกของการวางแผนการเงิน กว่าจะถึงความมั่งคั่งที่ตั่งใจไว้ก้าวแรกคือการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เพื่ออนาคตที่มั่งคง ขั้นตอนที่ 2 เคล็ดลับ คือ 1. สร้างสินทรัพย์ 2.หยุดสร้างหนี้ เคล็ดลับของการสร้างความมั่งคั่งหลักๆมีอยู่แค่ 2 อย่างเท่านั้น คือสร้างสินทรัพย์ และหยุดสร้างหนี้สิน และสินทรัพย์นี้เองจะทำให้เราสามารถมีอิสระภาพทางการเงินได้ในอนาคต เมื่อรายได้ของสินทรัพย์มากกว่ารายจ่ายของตัวเรา ขั้นตอนที่ 3 เข้าใจความจริงสามอย่าง 1. ตายเร็ว (ทิ้งภาระให้คนที่อยู่ ) 2. ตายช้า (ไม่มีเงินเกษียณ) 3. ไม่ตาย (ทุพพลภาพ ) ความจริง 3 อย่างที่ทุกคนต้องตระหนักเพื่อความไม่ประมาทในการวางแผนการเงิน เพราะการวางแผนการเงินคือการวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต และความจริง 3 อย่างนี้เราสามารถวางแผนเตรียมการปกป้องได้ ขั้นตอนที่ 4 ลำดับการสร้างความมั่งคั่ง คือ 1. สร้างความมั่นคั่ง (Wealth Creation) 2. ปกป้องความมั่นคั่ง(Wealth Protection) 3. สะสมความมั่งคั่ง (Wealth[…..]