5 ขั้นตอนสอนลูกให้เป็นเศรษฐี คนที่เป็นเศรษฐีมีความมั่งคั่งเพราะรู้คุณค่าของเงิน คนที่ประสบความสำเร็จเพราะรู้คุณค่าของงาน คนที่มีความสุขเพราะรู้คุณค่าของชีวิต หากจะสร้างนิสัยเศรษฐีให้ลูกน้อยต้องเริ่มจากให้ลูกมี“ความรู้เรื่องทางการเงิน”(Financial Literacy) อย่างถูกต้องตั้งแต่ยังเล็กๆ วันนี้นำเคล็บลับในการสร้างความรู้เรื่องทางการเงินสำหรับเด็กมาฝาก 1.สอนลูกรู้จักคุณค่าของเงิน การสร้างให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงินตั้งแต่เล็กๆถือว่ามีความสำคัญมาก เด็กจะรู้จักใช้เงินเป็นก็ตั้งแต่พวกเขานับเงินได้ เคล็บลับง่ายๆของคุณพ่อคุณแม่ โดยการมอบงานบ้านเล็กๆน้อยๆให้เขารับผิดชอบ เมื่อเขาทำงานสำเร็จ หรือดูแลหน้าที่นั้นๆได้เป็นอย่างดีจึงได้ค่าตอบแทนแก่เขา เป็นการจำลองสถานการณ์การทำงานจริงในอนาคต 2.สอนวินัยทางการเงิน หากปล่อยให้ลูกไม่มีวินัยทางการเงิน เขาอาจจะมีความสุขในตอนเด็ก แต่ในอนาคตจะมีความทุกข์กับปัญหาทางการเงิน วิธีการสอนลูกเรื่องวินัยทางการเงิน โดยการให้ลูกบริหารเงินเอง ค่อยๆให้เงินลูกจากรายวันเป็นรายสัปดาห์ และเป็นรายเดือน วิธีการนี้จะเป็นการสอนเรื่องการบริการเงิน และความรับผิดชอบของเงิน และควรให้ตามความเหมาะสมของแต่ละวัยไม่มากหรือน้อยเกินไป 3.ฝึกลูกเรื่องวางแผนการใช้จ่าย ฝึกให้ลูกทำบัญชีรายรับรายจ่ายตั้งแต่เล็ก เด็กจะรู้ว่าค่าขนมแต่ละวันนำไปใช้อะไร และการสอนที่ดีที่สุดคือให้ลูกมีประสบการณ์จริง โดยการเมื่อเราต้องไปซื้อของเข้าบ้าน ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการวางแผนในการซื้อของ ตั้งแต่เขียนรายการที่ต้องการซื้อ ไปจนถึงการเปรียบเทียบราคาสินค้าต่างๆ และเราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการเลือกซื้อของที่จำเป็นไม่ฟุ่มเฟือย 4.ปลูกฝั่งวินัยทางการออม ออมก่อนใช้สอนการออมให้ลูกอย่างถูกต้อง เมื่อเด็กได้รับค่าขนมจะใช้เงินจนหมด และไม่เหลือออม เราควรสอนให้ลูกออมเงินเพื่อเป้าหมายต่างๆ เป็นการฝึกนิสัยให้ลูกรักการออม เช่นเมื่อลูกต้องการซื้อของเล่นราคา 1,000 บาท พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักออมเพื่อเป้าหมายนั้นๆโดยให้ลูกออมเงินจากค่าขนมอย่างน้อย10เปอร์เซ็นต์เก็บจนสามารถซื้อของเล่นที่ต้องการได้ 5.สอนลูกให้รู้จักการให้ สุดท้ายของเคล็บลับสอนลูกให้เป็นเศรษฐีคือการให้ สอนให้ลูกรู้จักการแบ่งปัน การบริจาคช่วยเหลือสิ่งต่างๆให้กับผู้ด้อยโอกาส สิ่งนี้จะทำให้ลูกรู้จักและเข้าใจคุณค่าของเงินอย่างแท้จริง รุ่งโรจน์ ศรีขจรลาภ FchFp. […]
บริหารเงินวางแผนอนาคตเพื่อลูกน้อย คำถามที่พบประจำสำหรับคุณพ่อคุณแม่คือ อยากเก็บเงินให้ลูกควรวางแผนอย่างไรดี วันนี้เรามีวิธีการ บริหารเงินวางแผนอนาคตลูกน้อยที่เป็นแก้วตาดวงใจของคุณพ่อคุณแม่มาฝาก 5 ขั้นตอนบริหารเงินวางแผนอนาคตเพื่อลูกน้อย สร้างความคุ้มครองรายได้ การปกป้องรายได้ของหัวหน้าครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เปรียบเหมือนเราทำประกันให้ห่านที่ออกไข่เป็นทอง คำ หรือทำประกันให้กับเครื่องพิมพ์ธนบัตรของครอบครัว หัวหน้าครอบครัวควรมีทุนประกันชีวิต 5 เท่าของ รายได้ต่อปีเป็นอย่างน้อย และควรพิจารณาประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง และค่าชดเชยรายได้ให้เหมาะ สม เงิน10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สร้างความคุ้มครองให้ครอบครัว โดยส่วนใหญ่สิ่งที่พ่อแม่ทำก็คือการเปิดบัญชีเงินฝากและพยายามเก็บเงินสะสมให้ลูกน้อย แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือรายได้ของพ่อแม่ หากสูญเสียรายได้ส่วนนี้ไปเท่ากับครอบครัวอาจต้องสูญสลายไปด้วย สร้างกองทุนสำรอง เงินก้อนนี้จะช่วยรักษาสภาพคล่องให้ครอบครัว มีไว้ใช้จ่ายในกรณีที่หัวหน้าครอบครัวขาดรายได้ กองทุน สำรอง 3 – 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน สร้างกองทุนเหตุฉุกเฉิน เรื่องไม่คาดฝันในชีวิตสามารถมีได้ในทุกๆ วัน แม้เราจะวางแผนการเงินในครอบครัวอย่างดีแล้ว ฉะนั้นจึง ควรสร้างกองทุนฉุกเฉินเก็บในรูปของเงินฝากที่มีสภาพคล่องสูง เพื่อความมั่นคงของครอบครัว โดยควรมี เงินส่วนนี้ 15 เปอร์เซ็นต์ของความมั่งคั่งของครอบครัว ซึ่งเงินก้อนนี้จะเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่จะหยิบออกมา ใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงเป็นกองทุนที่สำคัญที่สุด ความมั่งคั่งของครอบครัว = สินทรัพย์รวมทั้งหมด* – หนี้สินทั้งหมด *รวมมูลค่าทรัพย์สินที่มี[…..]
กิจกรรมที่คุณแม่หลายคนโปรดปรานคือ การพาลูกน้อยไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ และถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำและได้เฝ้าดูพัฒนาการต่างๆของลูกน้อย วันนี้จะมาแนะนำเคล็บไม่ลับง่ายๆในการออมเงินสำหรับพาลูกน้อยท่องโลกกว้างได้อย่างสบายกระเป๋ามาฝาก 1.ตั้งกองทุนสำหรับท่องเที่ยว ในการเลือกสินค้าทางการเงินควรพิจารณาจากระยะเวลาที่เรากำหนดเป้าหมายที่ต้องการใช้เงิน ซึ่งจะทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากที่สุด เช่น ถ้าเราวางแผนที่จะพาลูกเที่ยวตอน 2 ขวบ เราควรเลือกเงินฝากประจำ หรือกองทุนตราสารหนี้ เพราะจะได้ดอกเบี้ยมากกว่าฝากออมทรัพย์ทั่วไป 2.ลดค่าใช้จ่ายประจำที่ไม่จำเป็นออก วิธีนี้เป็นที่วิธีการง่ายที่สุดและเร็วที่สุดในการวางแผนการเงิน เพื่อให้มีเงินออมที่เพิ่มขึ้น ขั้นตอนคือให้เราสำรวจรายจ่ายประจำของเราว่ามีรายการไหนที่ไม่จำเป็น สามารถตัดออก หรือลดลงได้ เช่น ค่าเคเบิ้ลรายเดือน ค่าฟิตเนส ค่าอินเตอร์เนท เป็นต้น ซึ่งรายการดังกล่าวไม่ได้กระทบการดำเนินชีวิตประจำวัน คนส่วนใหญ่จะมีรายจ่ายประเภทนี้ ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้เลยทีเดียว 3.วางแผนค่าใช้จ่ายอย่างคุ้มค่า ค่าใช้จ่ายภายในบ้านเป็นค่าใช้จ่ายที่รั่วไหลได้ง่ายๆ วิธีการวางแผนค่าใช้จ่ายให้เรามีเงินเหลือเก็บคือ ทำงบประมาณค่าใช้จ่ายแต่ละรายการแล้วปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เช่น ค่าอาหาร ค่าของใช้ภายในบ้าน ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น เงินที่เหลือจากงบประมาณที่ตั้งไว้เก็บเข้ากองทุน โดยห้ามนำไปใช้อย่างอื่นอย่างเด็ดขาด 4.หาทริคง่ายๆในการเพิ่มความสามารถการออม ลองหาทริคการออมง่ายๆในอินเตอร์เนทที่เหมาะกับตัวเรามาปรับใช้ เช่น วิธีการออมเงินด้วยแบงค์ 50บาท วิธีการคือเมื่อเราได้แบงค์ 50 บาทมา ให้เราเก็บไว้ห้ามใช้ เทคนิคนี้สามารถเพิ่มการออมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราไม่ต้องใช้ความพยายามเลยทีเดียว[…..]
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นคือการออม การออมเงินคือหัวใจแรกของการวางแผนการเงิน กว่าจะถึงความมั่งคั่งที่ตั่งใจไว้ก้าวแรกคือการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน เพื่ออนาคตที่มั่งคง ขั้นตอนที่ 2 เคล็ดลับ คือ 1. สร้างสินทรัพย์ 2.หยุดสร้างหนี้ เคล็ดลับของการสร้างความมั่งคั่งหลักๆมีอยู่แค่ 2 อย่างเท่านั้น คือสร้างสินทรัพย์ และหยุดสร้างหนี้สิน และสินทรัพย์นี้เองจะทำให้เราสามารถมีอิสระภาพทางการเงินได้ในอนาคต เมื่อรายได้ของสินทรัพย์มากกว่ารายจ่ายของตัวเรา ขั้นตอนที่ 3 เข้าใจความจริงสามอย่าง 1. ตายเร็ว (ทิ้งภาระให้คนที่อยู่ ) 2. ตายช้า (ไม่มีเงินเกษียณ) 3. ไม่ตาย (ทุพพลภาพ ) ความจริง 3 อย่างที่ทุกคนต้องตระหนักเพื่อความไม่ประมาทในการวางแผนการเงิน เพราะการวางแผนการเงินคือการวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมายของชีวิต และความจริง 3 อย่างนี้เราสามารถวางแผนเตรียมการปกป้องได้ ขั้นตอนที่ 4 ลำดับการสร้างความมั่งคั่ง คือ 1. สร้างความมั่นคั่ง (Wealth Creation) 2. ปกป้องความมั่นคั่ง(Wealth Protection) 3. สะสมความมั่งคั่ง (Wealth[…..]