บริหารเงินวางแผนอนาคตเพื่อลูกน้อย
คำถามที่พบประจำสำหรับคุณพ่อคุณแม่คือ อยากเก็บเงินให้ลูกควรวางแผนอย่างไรดี วันนี้เรามีวิธีการ บริหารเงินวางแผนอนาคตลูกน้อยที่เป็นแก้วตาดวงใจของคุณพ่อคุณแม่มาฝาก
5 ขั้นตอนบริหารเงินวางแผนอนาคตเพื่อลูกน้อย
- สร้างความคุ้มครองรายได้
การปกป้องรายได้ของหัวหน้าครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เปรียบเหมือนเราทำประกันให้ห่านที่ออกไข่เป็นทอง คำ หรือทำประกันให้กับเครื่องพิมพ์ธนบัตรของครอบครัว หัวหน้าครอบครัวควรมีทุนประกันชีวิต 5 เท่าของ รายได้ต่อปีเป็นอย่างน้อย และควรพิจารณาประกันสุขภาพและโรคร้ายแรง และค่าชดเชยรายได้ให้เหมาะ สม
เงิน10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สร้างความคุ้มครองให้ครอบครัว
โดยส่วนใหญ่สิ่งที่พ่อแม่ทำก็คือการเปิดบัญชีเงินฝากและพยายามเก็บเงินสะสมให้ลูกน้อย แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือรายได้ของพ่อแม่ หากสูญเสียรายได้ส่วนนี้ไปเท่ากับครอบครัวอาจต้องสูญสลายไปด้วย
- สร้างกองทุนสำรอง
เงินก้อนนี้จะช่วยรักษาสภาพคล่องให้ครอบครัว มีไว้ใช้จ่ายในกรณีที่หัวหน้าครอบครัวขาดรายได้
กองทุน สำรอง 3 – 6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน
- สร้างกองทุนเหตุฉุกเฉิน
เรื่องไม่คาดฝันในชีวิตสามารถมีได้ในทุกๆ วัน แม้เราจะวางแผนการเงินในครอบครัวอย่างดีแล้ว ฉะนั้นจึง ควรสร้างกองทุนฉุกเฉินเก็บในรูปของเงินฝากที่มีสภาพคล่องสูง เพื่อความมั่นคงของครอบครัว โดยควรมี
เงินส่วนนี้ 15 เปอร์เซ็นต์ของความมั่งคั่งของครอบครัว ซึ่งเงินก้อนนี้จะเป็นเงินก้อนสุดท้ายที่จะหยิบออกมา
ใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน จึงเป็นกองทุนที่สำคัญที่สุด
ความมั่งคั่งของครอบครัว = สินทรัพย์รวมทั้งหมด* – หนี้สินทั้งหมด
*รวมมูลค่าทรัพย์สินที่มี ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เช่น บ้าน รถ ทอง กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น
- สร้างกองทุนการศึกษา
พ่อแม่ทุกคนต้องการให้ลูกได้มีการศึกษาที่ดีที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาของบุตรตั้งแต่อนุบาล จนถึงปริญญาตรีในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 2 – 5 ล้านบาทต่อบุตร 1 คน (คิดอัตรา เงินเฟ้อการศึกษาอยู่ที่ 6 เปอร์เซ็นต์)
การวางแผนแบ่งเงินออมเพื่อการศึกษาบุตร
แบ่งออกเป็น 3
ออมระยะสั้น, ออมระยะกลาง, ออมระยะยาว
ด้วยเงิน 15 – 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้
เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดในความเสี่ยงที่รับได้และสามารถดึงเงินออกมาใช้จ่ายได้ในทุกช่วงเวลา
5. สร้างกองทุนเกษียณของตัวเอง
พ่อแม่หลายคนทุ่มเทในเรื่องการศึกษาบุตรมากจนลืมวางแผนให้กับอนาคตของตัวเอง ซึ่งปัญหานี้อาจย้อน กลับมาทำร้ายลูกของคุณได้ในภายหลัง เพราะลูกจะต้องหารายได้มาเลี้ยงดูพ่อแม่ ที่ไม่มีรายได้เมื่อ เกษียณอายุแล้ว และเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าการศึกษาที่เราได้ทุ่มเทให้กับบุตรนั้นจะ สามารถสร้างรายได้ให้กับบุตรเพียงพอที่จะเลี้ยงดูตัวเขาและเลี้ยงดูเราได้เพียงพอ ฉะนั้นจึงควรวางแผนการ ออมเงินเพื่อเกษียณอายุในช่วงชีวิตหลังเกษียณให้กับตัวเองด้วย
รุ่งโรจน์ ศรีขจรลาภ FchFp.
Rungroj Srikhajohnlab FchFp.