ตรวจสุขภาพการเงินง่ายๆด้วยตัวเอง #2

สุขภาพที่ดีเริ่มจากร่างกายที่แข็งแรง ทางการเงินก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรงแล้ว การเดินทางสู่เป้าหมายจะไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป เมื่อเราทำงบดุลของเราเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือตรวจสุขภาพทางการเงิน

สัดส่วนทางการเงินที่นักวางแผนการเงินให้ความสนใจ มีด้วยกันหลักๆ 3 อย่างคือ

  1. สัดส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน (Basic Liquidity Ratio)

-สัดส่วนสภาพคล่องพื้นฐานหรือเงินฉุกเฉินนั้นเอง สัดส่วนนี้บ่งบอกว่าเรามีเงินฉุกเฉินมากน้อยเพียงพอหรือไม่

สัดส่วนสภาพคล่องพื้นฐาน(Basic Liquidity Ratio)  = (สินทรัพย์สภาพคล่อง)หารด้วย(รายจ่ายต่อเดือน)

สัดส่วนนี้ควรจะมี 3-6 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน ถ้ามีน้อยเกินไปเท่ากับเรามีความเสี่ยงทางการเงินได้เมื่อเราขาดรายได้ ถ้ามากเกินไปจะเป็นผลเสียควรนำเงินส่วนเกินนี้ไปลงทุน

  1. สัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio)

สัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) = (หนี้สินรวม)หารด้วย(สินทรัพย์รวม)

สัดส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์มีไว้สำหรับประเมินว่าเรามีหนี้สินมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งสัดส่วนนี้ไม่ควรเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของความมั่งคั่ง ถ้าเรามีเกิน 50เปอร์เซ็นต์เท่ากับเรามีหนี้สินมากเกินไปเราควรลดหนี้สินที่มีลง

  1. การชำระคืนหนี้สินจากรายได้ ( Debt Service Ratio)

การชำระคืนหนี้สินจากรายได้ ( Debt Service Ratio) = (การชำระคืนหนี้สินต่อเดือน)หารด้วย(รายได้ต่อเดือน)

สัดส่วนนี้ไม่ควรเกิน 35 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ถ้าหากเรามีมากเกินไปแสดงว่าเรามีภาระการผ่อนจ่ายหนี้สินต่อเดือนมากเกินไปเราควรหาวิธีลดลงเพราะจะทำให้สภาพคล่องต่อเดือนมีปัญหาได้

สัดส่วนทางการเงินง่ายๆ 3 อย่างนี้เป็นสัดส่วนพื้นฐานหลักง่ายๆ แต่เป็นพื้นฐานหลักในการวางแผนการเงิน ซึ่งถ้ารากฐานแข็งแรงแล้ว ลำดับต่อไปในการวางแผนจะสามารถทำได้ง่าย เราควรตรวจสุขภาพทางการเงินของเราอย่างสม่ำเสมอให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมอย่างน้อยปีละครั้ง

รุ่งโรจน์ ศรีขจรลาภ FchFp.

Rungroj Srikhajohnlab FchFp.

LEAVE REPLY

Your email address will not be published. Required fields are marked *